ค้นหาบล็อกนี้

วันอาทิตย์ที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2553

9. ,The Ukulele Orchestra of Great Britain วงออเคสตร้าร้องประสานเสียงเพลงหลายเพลงพร้อมกันน่าฟังมาก(ลองคลิ๊กฟังเลย)

8. วงออเคสตร้า สนุกมากน่าฟัง

7. มีวิดิโอ cover songs ร้องคนเดียว 32 เพลง อิอิอิอิ น่าเลียนแบบบ้าง

<object width="640" height="390"><param name="movie" value="http://www.youtube.com/v/Pm9L60YBj3s&hl=en_GB&feature=player_embedded&version=3"></param><param name="allowFullScreen" value="true"></param><param name="allowScriptAccess" value="always"></param><embed src="http://www.youtube.com/v/Pm9L60YBj3s&hl=en_GB&feature=player_embedded&version=3" type="application/x-shockwave-flash" allowfullscreen="true" allowScriptAccess="always" width="640" height="390"></embed></object>

วันอาทิตย์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2553

6.มีวิดิโอมาให้ดู(เป็นเพลงของทาทา ยัง ตอนสมัย เป็นซุปเปอร์สตาร์ น่ารักมากกกก)หรือจะฟังเพลงอื่นก็ได้นะจ๊ะ

<object style="height: 390px; width: 640px"><param name="movie" value="http://www.youtube.com/v/Z_WD3kJ9GJQ?version=3"><param name="allowFullScreen" value="true"><param name="allowScriptAccess" value="always"><embed src="http://www.youtube.com/v/Z_WD3kJ9GJQ?version=3" type="application/x-shockwave-flash" allowfullscreen="true" allowScriptAccess="always" width="640" height="390"></object>

5.Raghuvamsa Sudha( เพลงที่เล่นด้วยเตรื่องดนตรีชิ้นเดียว....คลิ๊กชมได้เลย) หรือ จะฟังเพลงที่แลกเปลี่ยนกันร้อง เช่น stand by me ไพเราะน่าฟังมากที่ซุ๊ดดดด

<object style="height: 390px; width: 640px"><param name="movie" value="http://www.youtube.com/v/PFqpRPMjsZs?version=3"><param name="allowFullScreen" value="true"><param name="allowScriptAccess" value="always"><embed src="http://www.youtube.com/v/PFqpRPMjsZs?version=3" type="application/x-shockwave-flash" allowfullscreen="true" allowScriptAccess="always" width="640" height="390"></object>

4.แมวที่ท่านไม่กล้าเลี้ยงจ้า

แมวนี้ทุกท่านว่าน่ารักหรือไม่กล้าอุ้ม?

 



อุ๊ย.......น่ารักจัง
 




ทำไมถึงน่ารักอย่างนี้
 

 


 

แมวน่ารักที่สุดในโลก





 



3.เนื้อหาของบทเรียนสำเร็จรูปภาษาไทย ชั้น ป,4

เครื่องหมายวรรคตอน
  • การพิมพ์งาน ไม่ว่าจะเป็นโปรแกรมใดก็ตาม มักจะสร้างปัญหาให้กับผู้พิมพ์ได้ประการหนึ่งก็คือ การตัดคำ เนื่องจากโปรแกรมไม่มีความสามารถในการจำแนก และแยกแยะคำได้อย่างสมบูรณ์ โดยเฉพาะเมื่อมีการใช้เครื่องหมายวรรคตอนผสมกับข้อความ ดังนั้นเพื่อช่วยให้โปรแกรมแสดงผล และตัดคำได้อย่างสมบูรณ์ ควรทราบหลักการใช้เครื่องหมายวรรคตอน ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

    • นขลิขิตหรือวงเล็บ ( )

      • ใช้คร่อมคำ หรือข้อความที่ขยายใจความ หรืออฺธิบายความของคำ หรือข้อความข้างหน้า – ควรเว้นวรรค 1 ครั้งก่อนเปิดวงเล็บ และเว้นวรรค 1 ครั้งหลังปิดวงเล็บ ข้อความภายในวงเล็บควรติดกับเครื่องหมายวงเล็บเปิด และเครื่องหมายวงเล็บปิด เช่น มาตรฐานสิ่งพิมพ์ของ ISO (International Organization for Standardization)
    • อัญประกาศหรือเครื่องหมายคำพูด ( “ ก ” )

      • ใช้กำกับข้อความที่ยกมาจากที่อื่น หรือกำกับคำพูด – ควรเว้นวรรค 1 ครั้ง ก่อนเปิดเครื่องหมายคำพูดและเว้นวรรค 1 ครั้ง หลังปิดเครื่องหมายคำพูด ข้อความภายในเครื่องหมายคำพูด ควรติดกับเครื่องหมายคำพูดเปิด และเครื่องหมายคำพูดปิด เช่น
        ข้อความในเวนิสวานิชที่ว่า “ อันวาความกรุณาปราณี จะมีใครบังคับก็หาไม่ ”
      •  
    • ไม้ยมก (ๆ)

      • ใช้เขียนแทนคำซ้ำ – ควรอยู่ติดกับข้อความ หลังเครื่องหมายไม้ยมก เว้นวรรค 1 ครั้ง เช่น เมื่อจบการแข่งขัน ต่างก็ร้องว่าม้าดำชนะๆ เสียงกระหึ่มมาก
    • จุลภาคหรือจุดลูกน้ำ ( ,)

      • ใช้คั่นคำ ข้อความ บอกเว้นวรรคตอนในประโยคเดียวกัน – ติดกับข้อความข้างหน้า และเว้นวรรค 1 ช่องหลังเครื่องหมาย เช่น เทคนิคการพิมพ์งาน, การจัดหน้ากระดาษ, การใช้วรรคตอน และอื่นๆ เป็นหัวข้อที่ควรศึกษา
    • ใช้กับจำนวนเลข เพื่อคั่นหลักทีละ 3 หลัก – ติดกับตัวเลขหน้า และไม่ต้องเว้นวรรคหลังเครื่องหมาย เช่น 10,000 200,000 15,000,000
    • ไปยาลน้อย ( ฯ)

      • ใช้ละคำที่รู้จักกันดีแล้ว หรือคำยาว – อยู่ติดกับข้อความ หลังเครื่องหมายเว้นวรรค เช่น โปรดเกล้าฯ อ่านว่า โปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ยกเว้น พณฯ ไม่ต้องเว้นวรรคหลังเครื่องหมายตัวแรก
    • ไปยาลใหญ่ ( ฯลฯ)
      • ใช้ละคำ หรือข้อความส่วนใหญ่ที่นำมาอธิบายร่วมกัน – เว้นวรรคหน้าและหลัง การใช้งาน เช่น ในน้ำมีปลาช่อน ปลาดุก ปลาหมอ ฯลฯ และในส่วนก็มีทุเรียน มังคุด ฯลฯ
    • มหัพภาค หรือจุด (.)
      • ใช้บอกการจบประโยค หรือจบความ กำกับหัวข้อ กำกับอักษรย่อ – อยู่ติดกับข้อความ หลังเครื่องหมายเว้นวรรค เช่น
      • ข้อ 1. ภาษาไทยคือภาษาที่มีลักษณะอย่างไร

2.รายละเอียดของเครื่องหมาย

Ellipsis.svg                           ไข่ปลา
      

ไข่ปลา หรือ จุดไข่ปลา (...)
  • ใช้ละข้อความข้างท้ายที่ไม่จำเป็นหรือไม่ต้องการกล่าวถึง เพื่อแสดงว่าตัดตอนข้อความนั้นมาเพียงบางส่วน โดยต้องใส่จุดอย่างน้อย ๓ จุด
  • สำหรับในบทร้อยกรอง ถ้าจะละข้อความตั้งแต่ ๑ บรรทัดขึ้นไป ให้ใช้จุดไข่ปลายาวตลอดบรรทัด แต่ถ้าจะเน้นฉันทลักษณ์ก็สามารถใส่จุดไข่ปลาตามรูปแบบฉันทลักษณ์ได้
  • ใช้เพื่อแสดงว่ามีข้อความ แต่ข้อความนั้นลบเลือนหรือขาดหายไป และยังไม่สามารถหาหลักฐานมาประกอบหรือยืนยันได้ เช่น ข้อความในศิลาจารึก เป็นต้น
  • ใช้ในแบบพิมพ์ต่าง ๆ ซึ่งเว้นช่องว่างไว้สำหรับให้กรอกข้อความ ความยาวของจุดไข่ปลาขึ้นอยู่กับความยาวของข้อความที่ต้องกรอก

[แก้ไข] จุลภาค

Comma.png
จุลภาค (,)
  • ใช้คั่นจำนวนเลขนับจากหลักหน่วยไปทีละ ๓ หลัก
CorrespMtl5.png ๑,๐๐๐,๐๐๐
  • ใช้แยกคำ ข้อความย่อย หรือประโยคย่อยให้เด่นชัดขึ้น เพื่อกันความสับสน
CorrespMtl5.png กรมวิชาการ, กรมศาสนา, ในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ
  • ใข้คั่นคำในรายการที่เขียนต่อ ๆ กันตั้งแต่ ๓ รายการขึ้นไป กรณีที่รายการสุดท้ายมีคำ "และ" หรือ "หรือ" อยู่หน้าคำ ไม่ต้องใส่จุลภาคหลังรายการรองสุดท้าย
CorrespMtl5.png ในหนึ่งสัปดาห์มีเจ็ดวัน ได้แก่ วันจันทร์, วันอังคาร, วันพุธ, วันพฤหัสบดี, วันศุกร์, วันเสาร์ และวันอาทิตย์
  • ใช้ในการเขียนบรรณานุกรม ดัชนี และนามานุกรม โดยเขียนคั่นเมื่อมีการสับที่ระหว่างนามสกุลกับชื่อ, ระหว่างชื่อ-สกุล กับคำนำหน้านาม หรือยศ, ระหว่างราชทินนาม กับบรรดาศักดิ์ ฐานันดรศักดิ์ หรือสมณศักดิ์
  • ใช้ในพจนานุกรม เขียนคั่นความหมายหรือบทนิยามของคำที่มีความหมายหลาย ๆ อย่าง แต่ความหมายคล้าย ๆ กัน

1.เรื่องที่สนใจอยากทำผลงาน

วิธีสอนโดยใช้บทเรียนสำเร็จรูป
การสอนโดยใช้บทเรียนสำเร็จรูปหรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าบทเรียนโปรแกรม มีพื้นฐานมาจากการนำหลักการทางจิตวิทยาการเรียนรู้มาใช้ในการออกแบบบทเรียน โดยอาศัยทฤษฎีการวางเงื่อนไขและทฤษฎีการเสริมแรง ช่วยให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีหลักการว่าบทเรียนจะต้องเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมได้ทราบผลทันทีและมีการเสริมแรงตลอดเวลา ผู้เรียนสามารถเรียนไปทีละขั้นตอนตามความสามารถของผู้เรียนเอง

2. ลักษณะสำคัญ

บทเรียนโปรแกรมสำเร็จรูปกำหนดวัตถุประสงค์ไว้ชัดเจนในทุกเนื้อหา ทุกตอน
วัตถุประสงค์ต้องเป็นเชิงพฤติกรรมที่สามารถวัดได้ การแบ่งเนื้อหาออกเป็นขั้นตอน จะมีการเรียงลำดับจากง่ายไปหายาก การเรียงลำดับเนื้อหาจะกำหนดไว้ในกรอบเนื้อหา หรือ Frame และจะมีคำถามให้ผู้เรียนมีโอกาสที่จะได้ปฏิสัมพันธ์ (Interaction) กับบทเรียนตลอดเวลา เมื่อมีการถามก็จะต้องมีการเฉลยบทเรียนโดยจะตอบสนอง (Feedback) ทันที เมื่อผู้เรียนทราบคำตอบแล้วก็จะต้องมีการให้รางวัลหรือการเสริมแรง (Reinforcement) โดยการให้คำชมเชยหรือชี้แนะ แล้วแต่กรณี รูปแบบของบทเรียนก็จะมากหรือน้อยแล้วแต่เนื้อหาและวัตถุประสงค์ของบทเรียนสำเร็จรูปนั้น

3. วัตถุประสงค์

เพื่อให้ผู้เรียนได้มีโอกาสเรียนรู้ตามความสนใจและความพร้อมของผู้เรียนเอง ผู้เรียนสามารถใช้ศักยภาพของตนเองอย่างเต็มที่โดยปราศจากความกังวล ผู้เรียนจะถูกฝึกให้มีวินัย และความรับผิดชอบในการเรียนรู้ บทเรียนสำเร็จรูปสามารถนำมาใช้แก้ปัญหาได้ทั้งเรื่องของการขาดแคลนผู้สอนและความแตกต่างระหว่างบุคคล

4. จำนวนผู้เรียน

การสอนโดยใช้บทเรียนสำเร็จรูป ปกติจะเรียนรายบุคคล จำนวนนักเรียนจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับมีบทเรียนพอสำหรับผู้เรียนหรือไม่

5. ระยะเวลา

ขึ้นอยู่กับความสามารถของผู้เรียนเองหรือขึ้นอยู่กับความสามารถของบทเรียน

6. ลักษณะห้องเรียน

การเรียนด้วยบทเรียนสำเร็จรูปเป็นการเรียนรู้รายบุคคล จึงไม่มีการกำหนดสถานที่และเวลา

7. ลักษณะเนื้อหา

บทเรียนสำเร็จรูปสามารถสร้างได้ในทุกเนื้อหา

8. บทบาทผู้สอน

บทบาทของผู้สอนเป็นเพียงการชี้แนะ กระตุ้นผู้เรียนหรือให้คำปรึกษาเมื่อผู้เรียนมีปัญหา

9. บทบาทผู้เรียน

ผู้เรียนมีบทบาทเรียนรู้บทเรียนสำเร็จรูปหรือทำกิจกรรมอื่น ๆ เพิ่มเติมจากที่ผู้สอนแนะนำ

10. ขั้นตอนการสอน