ค้นหาบล็อกนี้

วันจันทร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ไตรยางศ์

ไตรยางศ์


ที่มา http://www.thaigoodview.com/files/u๓๑๔๙๘/Board_Wide.jpg

ไตรยางศ์ การแบ่งพยัญชนะ ๔๔ ตัวออกเป็น ๓ หมวดหมู่ ดังนี้
๑. อักษรสูง มี ๑๑ ตัว คือ ข ฃ ฉ ฐ ถ ผ ฝ ศ ษ ศ ห
( ฉันฝากขวดขี้ผึ้งใส่ถุงให้เศรษฐี )
๒. อักษรกลาง มี ๙ ตัว ก จ ด ต บ ป อ ฎ ฏ
( ไก่จิกเด็กตายบนปากโอ่ง ฎ ฏ )
๓.อักษรต่ำ มี ๒๔ ตัวแบ่งเป็น
- อักษรต่ำคู่ มี ๑๔ ตัว คือ ค ฅ ฆ ช ซ ฌ ฑ ฒ ท ธ พ ฟ ภ ฮ
(พ่อค้าฟันทองซื้อช้างฮ่อ ฅ ฆ ฌ ฑ ฒ ธ ภ )
- อักษรต่ำเดี่ยว มี ๑๐ ตัว คือ ง ญ น ย ณ ร ว ม ฬ ล
( งูใหญ่นอนอยู่ ณ ริมวัดโมฬีโลก )
***** เมื่อผันให้ครบ ๕ เสียงต้องผันร่วมกับ ห *****

คำเป็น คำตาย & อักษรคู่ อักษรเดี่ยว

คำเป็น
๑. เป็นคำที่ผสมด้วยสระเสียงยาวในแม่ ก กา เช่น ป้า มี ปู
๒. เป็นคำที่มีตัวสะกดอยู่ในแม่กง กน กม เกย เกอว เช่น จง มั่น ชม เชย ดาว

คำตาย
๑. เป็นคำที่ผสมด้วยสระเสียงสั้นในแม่ ก กา เช่น จะ ปะ ทุ
๒. เป็นคำที่มีตัวสะกดในแม่ กก กด กบ เช่น นัด พบ นก

อักษรคู่ อักษรเดี่ยว
อักษรต่ำ ๒๔ ตัว แบ่งออกเป็น ๒ พวก คือ
- อักษรต่ำคู่ คือ อักษรที่มีเสียงคู่กับอักษรสูง มี ๑๔ ตัว (พยัญชนะแถวที่ ๓, ๔) ได้แก่
ค ต ฆ คู่กับ ข
ฑ ฒ ท ธ คู่กับ ฐ ถ
ช ฌ คู่กับ ฉ
พ ภ คู่กับ ผ
ฮ คู่กับ ห
ซ คู่กับ ศ ษ ส
ฟ คู่กับ ฝ
- อักษรต่ำเดี่ยว คือ อักษรต่ำที่เสียงไม่คู่กับอักษรสูง มี ๑๐ ตัว (พยัญชนะแถวที่ ๕ กับเศษวรรค ย ร ล ว ฬ) ได้แก่ ง ญ ณ น ม ย ร ล ว ฬ เช่น งู ใหญ่นอน อยู่ ณ ริม วัด

คำครุ-ลหุ
๑.ครุ (คะ-รุ) หมายถึง คำหรือพยางค์ในภาษาไทยที่มี "เสียงหนัก" ซึ่งมีลักษณะข้อหนึ่งข้อใดต่อไปนี้
- คำหรือพยางค์ที่ประสมด้วยสระเสียงยาวและ อำ ใอ ไอ เอา ในแม่ ก กา
ปู นา ขา เก ตัว ใหญ่ เสีย ไม่ มี ฯลฯ
- คำหรือพยางค์ที่มีตัวสะกด ไม่ว่าสระเสียงสั้นหรือเสียงยาว
เดือน เพ็ญ สวย เย็น เห็น (อ)ร่าม ฯลฯ
ลหุ (ละ-หุ) หมายถึง คำหรือพยางค์ในภาษาไทยที่มี "เสียงเบา" ซึ่งประสมด้วยสระเสียงสั้นในแม่ ก กา เช่น สุ จิ ปุ ลิ ส(งบ) สะ(อาด) ส(ว่าง) ฯลฯ
ครุ และ ลหุ มักใช้เป็นตัวกำหนดฉันทลักษณ์ในบทร้องกรองเช่น ฉันท์ กาพย์ เป็นต้น

คำเป็น คำตาย
คำเป็น
๑. เป็นคำที่ผสมด้วยสระเสียงยาวในแม่ ก กา เช่น ป้า มี ปู
๒. เป็นคำที่มีตัวสะกดอยู่ในแม่กง กน กม เกย เกอว เช่น จง มั่น ชม เชย ดาว
คำตาย
๑. เป็นคำที่ผสมด้วยสระเสียงสั้นในแม่ ก กา เช่น จะ ปะ ทุ
๒. เป็นคำที่มีตัวสะกดในแม่ กก กด กบ เช่น นัด พบ นก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น