ค้นหาบล็อกนี้

วันอาทิตย์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2553

1.เรื่องที่สนใจอยากทำผลงาน

วิธีสอนโดยใช้บทเรียนสำเร็จรูป
การสอนโดยใช้บทเรียนสำเร็จรูปหรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าบทเรียนโปรแกรม มีพื้นฐานมาจากการนำหลักการทางจิตวิทยาการเรียนรู้มาใช้ในการออกแบบบทเรียน โดยอาศัยทฤษฎีการวางเงื่อนไขและทฤษฎีการเสริมแรง ช่วยให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีหลักการว่าบทเรียนจะต้องเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมได้ทราบผลทันทีและมีการเสริมแรงตลอดเวลา ผู้เรียนสามารถเรียนไปทีละขั้นตอนตามความสามารถของผู้เรียนเอง

2. ลักษณะสำคัญ

บทเรียนโปรแกรมสำเร็จรูปกำหนดวัตถุประสงค์ไว้ชัดเจนในทุกเนื้อหา ทุกตอน
วัตถุประสงค์ต้องเป็นเชิงพฤติกรรมที่สามารถวัดได้ การแบ่งเนื้อหาออกเป็นขั้นตอน จะมีการเรียงลำดับจากง่ายไปหายาก การเรียงลำดับเนื้อหาจะกำหนดไว้ในกรอบเนื้อหา หรือ Frame และจะมีคำถามให้ผู้เรียนมีโอกาสที่จะได้ปฏิสัมพันธ์ (Interaction) กับบทเรียนตลอดเวลา เมื่อมีการถามก็จะต้องมีการเฉลยบทเรียนโดยจะตอบสนอง (Feedback) ทันที เมื่อผู้เรียนทราบคำตอบแล้วก็จะต้องมีการให้รางวัลหรือการเสริมแรง (Reinforcement) โดยการให้คำชมเชยหรือชี้แนะ แล้วแต่กรณี รูปแบบของบทเรียนก็จะมากหรือน้อยแล้วแต่เนื้อหาและวัตถุประสงค์ของบทเรียนสำเร็จรูปนั้น

3. วัตถุประสงค์

เพื่อให้ผู้เรียนได้มีโอกาสเรียนรู้ตามความสนใจและความพร้อมของผู้เรียนเอง ผู้เรียนสามารถใช้ศักยภาพของตนเองอย่างเต็มที่โดยปราศจากความกังวล ผู้เรียนจะถูกฝึกให้มีวินัย และความรับผิดชอบในการเรียนรู้ บทเรียนสำเร็จรูปสามารถนำมาใช้แก้ปัญหาได้ทั้งเรื่องของการขาดแคลนผู้สอนและความแตกต่างระหว่างบุคคล

4. จำนวนผู้เรียน

การสอนโดยใช้บทเรียนสำเร็จรูป ปกติจะเรียนรายบุคคล จำนวนนักเรียนจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับมีบทเรียนพอสำหรับผู้เรียนหรือไม่

5. ระยะเวลา

ขึ้นอยู่กับความสามารถของผู้เรียนเองหรือขึ้นอยู่กับความสามารถของบทเรียน

6. ลักษณะห้องเรียน

การเรียนด้วยบทเรียนสำเร็จรูปเป็นการเรียนรู้รายบุคคล จึงไม่มีการกำหนดสถานที่และเวลา

7. ลักษณะเนื้อหา

บทเรียนสำเร็จรูปสามารถสร้างได้ในทุกเนื้อหา

8. บทบาทผู้สอน

บทบาทของผู้สอนเป็นเพียงการชี้แนะ กระตุ้นผู้เรียนหรือให้คำปรึกษาเมื่อผู้เรียนมีปัญหา

9. บทบาทผู้เรียน

ผู้เรียนมีบทบาทเรียนรู้บทเรียนสำเร็จรูปหรือทำกิจกรรมอื่น ๆ เพิ่มเติมจากที่ผู้สอนแนะนำ

10. ขั้นตอนการสอน


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น